แชร์

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง ? รู้ไว้เผื่อยามฉุกเฉิน

อัพเดทล่าสุด: 15 ก.ค. 2024
178 ผู้เข้าชม
พ.ร.บ.คุ้มครองอะไร

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง? รู้ไว้ เผื่อยามฉุกเฉิน

     พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ 'รถทุกคัน' ต้องมีไว้ เพื่อคุ้มครอง คนทุกคน และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ไม่คุ้มครองทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้น

พ.ร.บ. แบ่งความคุ้มครองเป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. จำนวนเงินค่าเสียหายเบี้องต้น คือ ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่จะได้รับทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
  2. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด คือ ค่าเสียส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้เป็นฝ่ายผิด)
ความคุ้มครอง
วงเงินความคุ้มครอง
ค่าเสียหายเบื้องต้น
1. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริงไม่เกิน)
สูงสุด 30,000
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสูงสุด 35,000
3. ได้รับบาดเจ็บ แต่ต่อมาเสียชีวิต (รวม ข้อ 1. และ ข้อ 2. ไม่เกิน)สูงสุด 65,000
ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น (สำหรับผู้ประสบภัย)
1. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บสูงสุด 50,000
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสูงสุด 435,000
3. ค่าชดเชยรายวัน (ตามความเป็นจริงไม่เกิน 20 วัน)วันละ 200

หมายเหตุ: หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

สำหรับผู้เสียหาย หรือผู้ประสบภัย (กรณีทราบผลเป็นฝ่ายถูก)

จะได้รับค่าเสียหาย ค่าเสียหายเบื้องต้น รวมกับ ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล กรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน (จ่ายตามจริงไม่เกิน)
  • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 500,000 บาทต่อคน (จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล ในกรณีเสียชีวิตภายหลัง)
  • กรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ จำนวนเงิน 200,000 - 300,000 บาท ต่อคน
    • นิ้วขาด 1 ข้อ ขึ้นไป 200,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 500,000 บาท
  • ค่าชดเชยรายได้ต่อวัน 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท (กรณีรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ในฐานะผู้ป่วยใน)

เบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. จะขึ้นอยู่กับประเภทของรถ และขนาดเครื่องยนต์ รวมถึงลักษณะการใช้งานของรถยนต์

การทำ พ.ร.บ. มีข้อดีดังนี้

  • ช่วยให้ผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุได้รับค่าชดเชย จากอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • ช่วยให้ผู้เอาประกันภัยมีความสบายใจ ในการขับขี่รถบนท้องถนน

     อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. มีวงเงินคุ้มครองที่จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงควรซื้อประกันภัยภาคสมัครใจ หรือประกันรถยนต์ เพิ่มเติม เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สิน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะเคลมค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ได้อย่างไรบ้าง?

     หลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ก็ให้เข้ารีบเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใกล้ตัวโดยเร็วที่สุด หรือหากบาดเจ็บหนักก็ให้รถฉุกเฉินนำไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หลังจากนั้น ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาลว่าเรามี พ.ร.บ. รถยนต์ โดยแจ้งเหตุการณ์เบื้องต้น เช่น เกิดที่ไหน เมื่อไหร่ โดยต้องแจ้งภายใน 180 วัน หรือจะให้ #ซี พี อินเตอร์ ช่วยประสานงานเคลมก็ได้เช่นกัน

     สรุปก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นมีติดรถไว้ยังไงก็อุ่นใจกว่า แต่ทั้งนี้ต้องพึงระวังไว้ว่า พ.ร.บ. จะไม่ให้ความคุ้มครองเรื่องค่าซ่อมรถยนต์ รวมถึงความเสียหายทางทรัพย์สิน ดังนั้น นอกจากต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (เช่น ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 3 หรือ ประกัน 2+ และ 3+) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีติดรถไว้ด้วย หากต้องการคำปรึกษาการเคลม พ.ร.บ. ทักหาเรา คลิ๊ก!  หรือเช็คเบี้ยประกันภัย ทักไลน์ @cpinterbroker

'ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ'

บทความที่เกี่ยวข้อง
ประกันรถยนต์แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
ผู้ใช้รถบางคนอาจจะพอรู้แล้วว่า ประกันรถยนต์แต่ละประเภท แต่ละชั้น แตกต่างกัน และก็มีบางคนที่ยังไม่รู้ วันนี้เราจะมาสรุปแบบให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้...
16 ก.ค. 2024
5 เทคนิคขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุ
ในวันที่ฝนตกหนักแบบนี้ เพื่อลดอุบัติเหตุวันนี้ C P Inter จะขอนำเสนอ 5 เทคนิคขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุได้กันครับ
15 ก.ค. 2024
ประกันการเดินทางคุ้มครองอะไรบ้าง เริ่มคุ้มครองเมื่่อไหร่ ?
การทำประกันภัยการเดินทาง เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่วางแผนไปเทื่ยว หรือไปดูงานที่ต่างประเทศ หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน
15 ก.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy