การซื้อประกันสุขภาพ ควรจะซื้อเมื่อไหร่ ซื้อไว้เท่าไหร่พอ
การซื้อประกันสุขภาพ ควรจะซื้อเมื่อไหร่ ? และควรซื้อเท่าไหร่ เพื่อให้เพียงพอเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ็บป่วย หรือเป็นโรคร้ายแรง หรือสำหรับคนที่ยังทำงานประจำมีสวัสดิการประกันกลุ่ม หรือประกันสังคม หรือ คนที่ทำงานข้าราชการ ที่มีสวัสดิการจากภาครัฐอยู่แล้วนั้น ควรจะซื้อประกันสุขภาพ หรือไม่ สำหรับบางคนที่มีอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้มีสวัสดิการ ควรจะเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบไหน ให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหากเจ็บป่วย วันนี้ ซี พี อินเตอร์ จะมาตอบคำถามเหล้านี้ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มอาชีพกัน
-
ผู้ที่ทำงานประจำ หรือกลุ่มมนุษย์เงินเดือน
โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีสวัสดิการประกันกลุ่มที่บริษัทฯ ทำไว้ให้ และก็มีประกันสังคมอยู่ด้วยแล้ว แต่ถ้าหากถามว่าจำเป็นที่จะต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม หรือไม่นั้น ก่อนอื่นต้องมาดูว่า ถ้าหากเราเจ็บป่วย เราจะเลือกเข้าโรงพยาบาลที่ไหน ค่าห้อง รวมค่าอาหาร ค่ายา ต่อวันประมาณเท่าไหร่ สิ่งที่สวัสดิการของบริษัทมีให้เพียงพอไหม ? เช่น ถ้าเราเจ็บป่วยแล้วต้องการที่จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน ที่ค่าห้องค่อนข้างสูง ก็ควรที่จะซื้อประกันสุขภาพเพิ่มไว้ เพราะนิยามความสำคัญของประกันสุขภาพ คือคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุเจ็บป่วย บางคนคิดว่าตัวเองมีสวัสดิการประกันกลุ่ม และ/หรือ มีประกันสังคม ก็เพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมว่าสวัสดิการเหล่านี้ ไม่ใช่สวัสดิการที่ติดตัวเราไปตลอด ถ้าหากต้องออกจากงานหล่ะ
บางคนเริ่มทำประกันสุขภาพตอนที่สายเกินไป เพราะเกิดโรคบางอย่างขึ้นกับตัวเองแล้ว เช่น อาจจะเป็นโรคเนื้องอกในบริเวณต่าง ๆ หรือโรคร้ายแรงยอดฮิตเช่นมะเร็ง หรือเป็นโรคประจำตัวอย่าง โรคเบาหวาน ความดัน ก็เท่ากับว่าหากไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพเตรียมเอาไว้ แล้วต้องการจะทำประกันสุขภาพในภายหลัง ก็อาจจะส่งผลให้ไม่ผ่านการพิจารณาการรับประกัน หรือไม่ได้รับความคุ้มครองเต็มที่ เพราะติดเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองโรคที่เป็นมาอยุ่ก่อนแล้ว
ดังนั้น ควรจะซื้อประกันสุภาพไว้ ยิ่งทำตั้งแต่อายุยังน้อยได้ก็ยิ่งดี เพราะ นอกจากจะทำให้เราสามารถเลือกรักษาในโรงพยาบาลที่ต้องการได้ เวลาที่เจ็บป่วย และไม่ว่าในอนาคตจะเกิดเป็นโรคอะไรขึ้นมา เราก็ยังมีความคุ้มครองที่ครอบคลุม ทั้งโรค และค่าใช้จ่ายไปจนแก่ ซึ่งเราสามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันได้ โดยการเลือกซื้อประกันสุขภาพที่มีส่วนลด กรณีมีค่าเสียหายส่วนแรกไว้ เพื่อใช้สำหรับรองรับค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากสวัสดิการประกันกลุ่มได้ หรือหากว่าปกติใช้สิทธิประกันสังคมเป็นหลักอยู่แล้ว ก็อาจจะทำประกันโรคร้ายแรง หรือประกันภัยโรคมะเร็งเพิ่มไว้ก็ได้ เพื่อให้ได้เงินก้อนมารักษาตัวไว้สักหน่อย และยังคงใช้สิทธิประกันสังคมได้ แต่สิ่งที่แตกต่างของการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชน กับโรงพยาบาลในส่วนของประกันสังคมก็จะแตกต่างกัน ในเรื่องของความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย ในบางครั้งต้องรอคิวนาน ยกเว้นจะเป็นเคสหนัก หรือเร่งด่วนจริง ๆ ถึงจะใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ ซึ่งบางที่อาจะรอถึงครึ้งวันกว่าจะได้รับการรักษา ถ้าเรายอมรับได้ในเรื่องนี้ ก็ถือประกันสังคมเอาไว้ และต่อสิทธิ์อย่าได้ขาด แม้จะเกษียณไปแล้วก็ตาม -
ข้าราชการ
ข้าราชการจะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลติดตัวตลอดยาวๆ ไปตั้งแต่เริ่มทำงาน แต่ในยุคปัจจุบันก็อาจจะไม่ได้สิทธิ์เท่าข้าราชการรุ่นก่อน ๆ ดังนั้น หากอยากได้ความรู้สึกสะดวกสบายชอบบริการจากโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า ก็ควรซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเก็บไว้ แต่หากไม่ซีเรียสก็สามารถไปใช้สิทธิรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐบาลได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีประกันสุขภาพ แต่ก็ยังแนะนำให้ซื้อประกันโรคร้ายแรงไว้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาก็ยังได้เงินก้อนมารักษาตัวเองยามเจ็บป่วย หรือจะเป็นเงินสำรองที่เอาไว้ใช้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาตัว ก็น่าจะเป็นประโยชน์มาก ๆ -
อาชีพอิสระ
เป็นกลุ่มอาชีพที่ควรจะซื้อประกันสุขภาพ มากที่สุด เพราะไม่มีสวัสดิการใด ๆ ติดตัวเลย และหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เงินออมที่เก็บไว้ ก็ต้องนำมาใช้รักษาตัวเองจนหมด
จะดีกว่าไหม ถ้าหากมีประกันสุขภาพ ที่มีความคุ้มครองเพียงพอ และหากมีวงเงินค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ด้วยก็จะมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันก็มีหลาย ๆ บริษัทฯ ที่ออกแพคเกจประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มอาชีพอิสระ ที่ปัจจุบันจำนวนมากขึ้นในทุก ๆ ปี
ข้อสรุป 8 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพ
- อยากรักษาที่โรงพยาบาลไหน ดูค่าห้องที่เหมาะสม
จะได้เลือกซื้อแบบประกันที่เบี้ยประกันเหมาะสม กับความต้องการ และเงินในกระเป๋าเราได้ ประกันสุขภาพเป็นเบี้ยจ่ายทิ้งทุกปีเหมือนประกันรถยนต์ แต่ต่างกันตรงที่ ประกันรถหากเคลมเยอะ เบี้ยสูงขึ้นก็เปลี่ยนบริษัทในปีถัด ๆ ไปเพื่อให้เบี้ยถูกลงได้ แต่ประกันสุขภาพ หากเป็นโรคอะไรขึ้นมา แล้วเคลมเยอะ ไม่สามารถเปลี่ยนบริษัทได้ เพราะประวัติการรักษาจะติดตัวเราไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นเวลาตัดสินใจเลือกต้องดูให้ครอบคลุมกับการใช้งานจริงของเรา เช็คค่าห้องโรงพยาบาลปี 2567 - สำรวจว่าเรามีสวัสดิการอยู่แล้วเท่าไหร่ และพอเพียงหรือไม่
หากไม่พอ ก็หาซื้อประกันสุขภาพที่มีค่าเสียหายส่วนแรกติดไว้ เผื่อกรณีต้องใช้หากมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินจากประกันกลุ่ม หรือประกันสุขภาพคุ้มครองเอาไว้แบบยาวๆ ที่สามารถจ่ายไปได้จนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี - เบี้ยประกันสุขภาพจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ
ซึ่งจะเพิ่มตามความเสี่ยงของวัยที่พออายุมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงขึ้นด้วย จึงต้องคำนึงถึงเงินที่จะนำมาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในยามเกษียณ เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลในอนาคตว่าจะหารายได้มาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นยามเกษียณจึงควรเตรียมเงินไว้ตั้งแต่ตอนยังหนุ่มสาวที่ยังสามารถทำงานหารายได้ได้ - ประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 ต่อปี
- ปัจจุบันมีแบบประกันสุขภาพให้เลือกหลายหลาย
เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ก่อนการตัดสินใจซื้อ เลือกแบบที่เหมาะกับตัวเอง ถ้าสุขภาพแข็งแรงไม่ค่อยได้หาหมอบ่อยนัก ก็เอาเลือกแบบผู้ป่วยในอย่างเดียว เบี้ยประกันก็จะถูกหน่อย แต่หากเจ็บป่วยเล็กน้อยบ่อยๆ ก็ควรเลือกแบบที่มีผู้ป่วยนอก (OPD) ไว้ ก็จะรู้สึกว่าคุ้มค่า หากเจ็บป่วย ก็สามารถไปหาคุณหมอเบิกค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอก ก็ได้ใช้วงเงินระหว่างปีแบบไม่รู้สึกเสียเปล่า - ระยะเวลารอคอยในการเริ่มต้นทำประกันสุขภาพครั้งแรก
ทุกบริษัทจะมีเงื่อนไขเหมือนกัน คือจะคุ้มครองอุบัติเหตุทันทีหลังจากกรมธรรม์อนุมัติ แต่ความคุ้มครองในส่วนค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย จะต้องรอ 30 วันนับจากวันเริ่มสัญญาความคุ้มครอง จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพได้ และยังมีอีก 8 โรค ที่มีระยะเวลารอคอยของโรค 120 วัน ได้แก่ เนื้องอก ถุงน้ำ มะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อน ต้อเนื้อ ต้อกระจก การตัดทอนซิล นิ่ว เส้นเลือดขอด เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พึงรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ - คำนึงถึงเงื่อนไขที่เราต้องแถลงก่อนการทำประกันสุขภาพ
เราจำเป็นต้องแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของเราก่อนทำประกัน เพราะหากปกปิดสาระสำคัญ อาจจะทำให้กรมธรรม์ถูกบอกล้างสัญญาเป็นโมฆียะ ได้ในอนาคต ดังนั้นเราควรแถลงทุกเรื่องอันเป็นสาระสำคัญลงในใบคำขอ ไม่ควรปกปิดเพราะสัญญาประกันสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี หากบริษัทตรวจพบประวัติการรักษาสำหรับบางโรคที่เป็นก่อนการทำประกัน โดยที่เราไม่ได้แถลงลงไปในใบคำขอ ก็อาจจะทำให้บริษัทบอกล้างสัญญา และเป็นผลเสียกับเราในอนาคต - ให้นึกถึงความสำคัญ และจำเป็นในคราวที่ต้องใช้งานจริงๆ ว่าสิ่งที่เรามีอยู่เพียงพอหรือไม่ จำเป็นต้องซื้อหรือไม่
หากเรา หรือลูกเราป่วย สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงคืออะไร ระหว่างโรงพยาบาลที่ดีที่สุด หรือ โรงพยาบาลที่ถูกที่สุด โดยคุณจะเป็นคนเลือกประกันในวันที่คุณสุขภาพดี หรือจะทำประกันในวันที่เกิดเป็นโรคใดๆ ขึ้นมาแล้ว คุณก็อาจจะไม่สามารถทำประกันได้อีกตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นให้รีบทำไว้ตั้งแต่วันที่คุณยังสุขภาพดี เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือปกป้องความเสี่ยง ปกป้องเงินออมของตัวคุณเอง และครอบครัว เพื่อความมั่นคงในอนาคต
มาลองสำรวจตัวเองกัน ในวันที่ยังสุขภาพดี เพราะหลาย ๆ คน ตกหลุมพรางของสวัสดิการประกันกลุ่มของบริษัทฯ โดยลืมคำนึงว่า หากเราเกษียณ หรือต้องออกจากงาน แล้วไม่มีสวัสดิการค่ารักษาจากบริษัทอีกต่อไป นั่นหมายความว่า เราจะต้องเตรียมเงินเพื่อค่ารักษาพยาบาลสูงลิ่วที่ไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยเงินเก็บทั้งชีวิตของตัวเอง หลายๆ คนที่ลืมมองจุดนี้และจะคิดไปหาซื้อประกันสุขภาพตอนอายุมาก หรือตอนเกษียณ แต่มีโรคเรื้อรังติดตัวเสียแล้ว เช่น โรคไต โรคหัวใจ ความดัน โรคมะเร็ง เท่ากับว่าหลังจากนี้เป็นต้นไป จะต้องเตรียมเงินก้อนที่เก็บมา ไว้รักษาตัวเอง จะดีกว่าไหมหากเตรียมพร้อมได้ก่อน ก็ควรหาซื้อประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ยังวัยหนุ่มสาว เพื่อให้คุ้มครองครอบคลุม ซื้อตามความจำเป็นและเหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน ที่ไม่มากเกินความจำเป็น
การวางแผนด้านประกันชีวิต และประกันสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการจัดการความเสี่ยงของชีวิต สำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกๆ อาชีพ อยากให้เราช่วยแนะนำ บริหารความเสี่ยง ทักมาเลยที่ ไลน์ @cpinterbroker